เอื้องผึ้ง / -

ประวัติการค้นพบ: : ถูกตั้งชื่อครั้งแรกโดย Ernst Gottlieb von Steudel (1783-1856) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน โดยตีพิมพ์ลงในวารสาร Nomenclator Botanicus, Editio secunda (Steudel) ในปี 1840 ที่มาชื่อไทย: - ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ลำลูกกล้วยขึ้นติดกันเป็นกระจุกแน่น รูปรี โคนสอบ ผิวมัน ขรุขระเป็นคลื่น มีรอยข้อชัดเจน ปลายลำเป็นใบเดี่ยว รูปขอบขนาน ช่อดอกเกิดจากด้านข้างของลำลูกกล้วย ลำละช่อ ดอก 6-10 ดอก ดอกสีเหลืองอมส้ม กลีบเลี้ยงรูปไข่ คุ่มโค้ง ปลายมน กลีบดอกรูปรี แกมรูปใบหอกกว้าง กลีบปากรูปไข่ตะแคง ปลายเว้าลึก โคนกลีบสอบเข้า มีรอยเส้นสีส้มเข้มหลายเส้น ขอบกลีบพลิ้ว ผิวกลีบมีขน ไทรโคมทั่วไป การกระจายพันธุ์: รัฐอัสสัม อินเดีย, มณฑลกวางตุ้ง, เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง, มณฑลกุ้ยโจว และมณฑลไหหลำ ประเทศจีน, ฮ่องกง, พม่า, ไทย, จีน, ลาว, กัมพูชา และเวียดนาม นิเวศวิทยา: ดอกบานเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม ติดผลเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฏาคม พบตามป่าผลัดใบและป่าดิบแล้ง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคตะวันตกเฉียงใต้ ข้อมูลชีววิทยาอื่น ๆ: - สถานภาพทางการอนุรักษ์: - เอกสารอ้างอิง: [1] หนังสือบัญชีรายการทรัพย์สินชีวภาพกล้วยไม้ไทย ส่วนที่ 2 [2] https://www.orchidspecies.com/denlindleyi.htm


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Dendrobium lindleyi Steud.

ชื่อท้องถิ่น = -

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง